8 กลยุทธ์การตั้งราคา ดึงดูดใจลูกค้า

[OrderPlus]-กลยุทธ์การตั้งราคา-ดึงดูดใจลูกค้า.png


กลยุทธ์ในการตั้งราคา มีเป้าหมายหลัก ๆ คือ เป็นเครื่องมือที่กำหนดความต้องการสินค้า และเพื่อการส่งเสริมการตลาด แบรนด์ส่วนใหญ่จะใช้แนวคิดการตั้งราคาที่บวกเพิ่มจากต้นทุน แต่ในสถานการณ์ปัจจุบันสภาพแวดล้อมเศรษฐกิจที่เปลี่ยนไป ทำให้แบรนด์ต้อการเน้นกำไรจากการขายให้ได้มากที่สุด และมักใช้เกณฑ์กำหนดกำไรรายได้จาก ส่วนเแบ่งทางการตลาด (Markert Share) แต่กว่าอัตราการเติบโตจะเพิ่มขึ้นนั้น ผู้แข่งขันในธุรกิจประเภทเดียวกันก็เพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ จึงทำให้การแข่งขันเรื่องราคาเป็นสิ่งสำคัญ 



กลยุทธ์การตั้งราคาสินค้า คืออะไร? สำคัญอย่างไรกับแบรนด์

กลยุทธ์การตั้งราคาสินค้า เป็นหนึ่งในส่วนสำคัญที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อของกลุ่มเป้าหมาย อีกทั้งยังเป็นตัวชี้วัดภาพลักษณ์ของแบรนด์อีกด้วย 

ราคาของ Product เมื่อเทียบกับคู่แข่ง แม้จะมีราคาแตกต่างกันเล็กน้อย แต่ก็ส่งผลเป็นอย่างมากต่อมุมมองของผู้บริโภค และอาจเปลี่ยนแปลงกลุ่มเป้าหมายที่สนใจสินค้าของเราไปอย่างสิ้นเชิง

โดยปกติแล้วราคาสินค้ามักจะถูกตั้งโดยใช้ปัจจัยพื้นฐาน 4 อย่าง ได้แก่

1. ต้นทุน (Cost)
2. กลุ่มเป้าหมาย (Target)
3. จุดยืนของสินค้า (Position) 
4. คู่แข่ง (Competitor) 

แต่ในขณะเดียวกัน Pricing Strategy ก็สามารถนำมาวิเคราะห์เพื่อสร้างกลยุทธ์ทางการตลาดที่แข็งแกร่ง ซึ่งสามารถ Impact ให้กับการขายได้ค่อนข้างมาก เรามาดูกันว่ามีกลยุทธ์อะไรบ้าง



8 กลยุทธ์การตั้งราคา Pricing Strategy


1. การตั้งราคาตามฤดูกาล (Seasonal Pricing) 
เป็นการกำหนดราคาสินค้าให้ต่ำลงกว่าปกติในช่วงเวลาที่มีความต้องการของลูกค้าน้อย หรือกำหนดราคาให้สูงขึ้นในช่วงเวลาที่มีลูกค้ามาก เพื่อกระตุ้นให้ลูกค้าซื้อสินค้าในช่วงนอกฤดูกาล ส่วนใหญ่มักใช้กับสินค้าหรือบริการที่ความต้องการของลูกค้ามีการเปลี่ยนแปลงสูง ในแต่ละช่วงเวลา เช่น ร้านสปาที่มีลูกค้ามาใช้บริการมากในช่วงเย็นหลังเลิกงาน หรือวันเสาร์-อาทิตย์ จึงใช้กลยุทธ์ตั้งราคาพิเศษต่ำกว่าปกติในช่วงกลางวันของวันธรรมดา เพื่อจูงใจลูกค้ามาใช้บริการในช่วงกลางวันวันธรรมดา



2. การตั้งราคาตามหลักจิตวิทยา (Psychological Pricing) 
เป็นการตั้งราคาโดยอาศัยความรู้สึกของผู้ซื้อที่มีต่อราคา ซึ่งวิธีการตั้งราคาตามหลักจิตวิทยา เช่น การตั้งราคาแบบเลขคู่ เป็นการกำหนดให้ราคาลงท้ายด้วยเลขคู่หรือจำนวนเต็ม ซึ่งให้ความรู้สินค้ามีคุณภาพดี มีชื่อเสียง เช่น 100 บาท 1,500 บาท 2,000 บาท เป็นต้น กลยุทธ์นี้เหมาะกับสินค้าที่ต้องการสร้างภาพลักษณ์ หรือสินค้าราคาแพง สินค้าเกรดพรีเมียม



3. การตั้งราคาตามแนวภูมิศาสตร์ (Geographical Pricing)
เป็นการกำหนดราคาโดยการพิจารณาถึงต้นทุนด้านการขนส่งไปยังตลาดตามภูมิภาคต่างๆ การกำหนดราคาจัดจำหน่ายจึงต้องพิจารณาถึงปัจจัยต่างๆ ประกอบด้วย เช่น ระยะทาง ที่ตั้งขององค์กร (หรือโรงงาน) สถานที่จัดจำหน่าย ค่าขนส่ง วิธีการขนส่ง แหล่งวัตถุดิบ และสภาวะการแข่งขันในตลาด การตั้งราคาตามแนวภูมิศาสตร์ ได้แก่ การตั้งราคาตามเขต การตั้งราคาส่งมอบราคาเดียว หรือการตั้งราคาแบบผู้ขายรับภาระค่าขนส่ง เป็นต้น



4. การตั้งราคาสูงและการตั้งราคาต่ำ (Skimming and Penetration Pricing)

4.1 การตั้งราคาสูง (Skimming Pricing)
เป็นการตั้งราคาสินค้าสูงในช่วงแรกของการนำสินค้าใหม่เข้าสู่ตลาด เพื่อต้องการให้ได้ต้นทุนและกำไรกลับมาโดยเร็ว

4.2 การตั้งราคาต่ำ (Penetration Pricing)
เป็นการตั้งราคาให้ต่ำในช่วงแรกของการนำสินค้าเข้าสู่ตลาด เพื่อจูงใจให้ผู้บริโภคยอมรับมาทดลองซื้อไปใช้



5. กลยุทธ์ราคาชุด (Product Set Pricing)
เป็นการนำเอาสินค้าแบบเดียวกันหรือต่างชนิดกันมากกว่า 1 ชิ้น มารวมขายเป็นชุด โดยตั้งราคารวมของชุดให้ต่ำกว่าราคาปกติของสินค้าแต่ละชิ้นที่นำมารวมกัน เพื่อกระตุ้นให้ลูกค้าซื้อสินค้าในปริมาณที่มาก เช่น ร้านอาหารจานด่วนที่จัดอาหารเป็นชุด (Set Menu) ที่ประกอบไปด้วย อาหารจานหลัก สลัด มันฝรั่งทอด และเครื่องดื่ม ราคาของชุดอาหารจะถูกกว่าซื้อทีละอย่าง



6. การตั้งราคาเพื่อการส่งเสริมการตลาด (Promotion Pricing)
เป็นกลยุทธ์ที่ผู้ค้าปลีกนิยมนำมาใช้ในการตั้งราคาสินค้า เพื่อจูงใจผู้บริโภคให้ซื้อสินค้ามากขึ้น มีวิธีการดังนี้

- การตั้งราคาแบบล่อใจ เป็นการตั้งราคาสินค้าบางอย่างที่ผู้บริโภคต้องการ ให้มีราคาต่ำมากหรืออาจจะต่ำกว่าต้นทุน เพื่อจูงใจให้ผู้บริโภคเข้ามาซื้อสินค้าในร้านของเรา

- การตั้งราคาในเทศกาลพิเศษ เป็นการลดราคาสินค้าพิเศษในช่วงเทศกาลต่างๆ เพื่อกระตุ้นให้ผู้บริโภคซื้อสินค้าตามเทศกาลนั้นๆ เช่น ปีใหม่ สงกรานต์ ช่วงเวลาเปิดเทอม หรือการจัดเทศกาลลดราคาประจำปีขององค์กร



7. กลยุทธ์ราคาแยกตามกลุ่มลูกค้า (Pricing by Type of Customers)
เป็นการกำหนดราคาต่างกันตามกลุ่มลูกค้าที่ต่างกันโดยพิจารณาจากกำลังซื้อของลูกค้า หรือให้ราคาพิเศษสำหรับลูกค้าบางกลุ่ม เพื่อกระตุ้นให้กลุ่มนี้มาใช้บริการมากขึ้น เช่น โรงภาพยนตร์ที่แสดงบัตรนักศึกษาได้ราคาพิเศษ ในวันธรรมดา เป็นต้น



8. กลยุทธ์การตั้งราคาแบบหลอกล่อ (Decoy Effect)
เป็นปรากฎการณ์ที่เกิดขึ้นเมื่อลูกค้ามีความลังเลในการตัดสินใจระหว่าง 2 ตัวเลือก สิ่งที่แบรนด์ทำคือการสร้างตัวเลือกที่ 3 ขึ้นมา ซึ่งตัวเลือกที่ 3 นี้จะเข้าไปมีอิทธิพลต่อการตัดสินใจของลูกค้าและทำหน้าที่ลวงให้พวกเขาหันไปตัดสินใจซื้อตัวเลือกที่แบรนด์อยากจะขายมากกว่า

ดังนั้นในการที่จะลดความกังวล ผู้บริโภคเลยมักจะทำให้การตัดสินใจนั้นง่ายขึ้นโดยการคำนึงถึงเหตุผลแค่ไม่กี่อย่างเท่านั้น ซึ่งก็คือเรื่องของราคาและจำนวนที่ได้มา ทำให้แบรนด์ต่างๆ พยายามจะควบคุมการเลือกซื้อของผู้บริโภค ก็เลยสร้างตัวเลือกหลอกล่อขึ้นมา ที่จะทำให้ผู้บริโภคนั้นรู้สึกว่าพวกเขาได้ไตร่ตรองและใช้เหตุผลอย่างดีแล้ว และยังทำให้พวกเขาคิดว่าตัวเลือกที่ได้เลือกไปนั้นมีความคุ้มค่ากับราคาที่จ่าย ด้วยเหตุผลเช่นนี้จึงทำให้แบรนด์ต่างๆ หันมาให้ความสำคัญกับตั้งราคาและการสร้าง ‘ตัวเลือก’ เพื่อกระตุ้นและโน้มน้าวให้ผู้บริโภคนั้นเลือกซื้อสินค้าที่มีราคาแพงกว่านั่นเอง

ตัวอย่างสินค้ารุ่นเดียวกัน 3 ราคา

1. สินค้าชิ้นที่ 1 ราคา 199 บาท

2. สินค้าชิ้นที่ 2 ราคา 399 บาท

3. สินค้าชิ้นที่ 3 ราคา 499 บาท

ถ้าหากดูจากราคาแล้ว จะเห็นได้ว่าสินค้าชิ้นที่ 2 นั้นทำงานเป็นตัวหลอกล่อหรือ Decoy โดยทำให้ลูกค้าคิดว่าจ่ายเพิ่มแค่ 100 บาท ก็ได้สินค้าชิ้นที่ 3 ซึ่งเป็นรุ่นท็อปที่สุดแล้ว ซึ่งก็ดูจะเป็นตัวเลือกที่คุ้มค่ากว่านั่นเอง



การตั้งราคาสินค้านั้นเป็นสิ่งที่สำคัญในการทำธุรกิจ แต่สิ่งที่สำคัญยิ่งกว่าก็คือการมองคู่แข่งและสถานการณ์ของตลาดให้ขาด เพื่อให้เจ้าของธุรกิจรู้จักปรับใช้กลยุทธ์การตั้งราคาได้ตรงกับประเภทสินค้าและกลุ่มเป้าหมาย

 

แหล่งอ้างอิง : กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม, mission to the moon


 

 


แนะนำ 4 ปัจจัยที่จะกำหนดว่าคุณจะขายสินค้าได้หรือไม่!

ณ ปัจจุบันการขายของออนไลน์นั้น ถือว่าได้รับความนิยมอย่างมาก ลองสังเกตจากการเกิดร้านค้าออนไลน์ใหม่ ๆ ขึ้นมากมาย อย่างไรก็ดี เชื่อว่าทุกท่านอาจมีความกังวล กลัวว่าลงทุนไปแล้วจะไม่สำเร็จลุล่วงอย่างที่หวังไว้ ดังนั้น สิ่งสำคัญที่อยากให้ทุกๆท่านจำไว้ก่อนจะเลือกของมาขายก็คือ “ต้องมีความรู้ ความเข้าใจในการตลาดบนโลกออนไลน์และต้องใช้เครื่องมือต่าง ๆ ให้เป็น”
16/ม.ค./2023 16:46 น.

6 เทคนิคการปิดการขาย สำหรับคนขายของออนไลน์เพื่อเพิ่มยอดขายให้มากขึ้น

การปิดการขายสำคัญมากสำหรับคนขายของออนไลน์ นอกจากจะขายสินค้าได้มากขึ้นแล้ว อาจจะมัดใจลูกค้าให้ซื้อซ้ำได้อีกด้วย โดยระบบหลังบ้าน Order Plus
31/ม.ค./2023 09:52 น.

10 เทรนด์ การยิงแอด Facebook ในปี 2023 โดย ระบบหลังบ้าน Order Plus

การคาดการณ์การยิงแอด Facebook ในปี 2023 เพื่อเป็นแนวทางในการวิเคราะห์แนวโน้มในการขายสินค้าและทำการตลาดผ่านทาง Facebook ต่อไป
07/ก.พ./2023 10:20 น.
ระบบจัดการออเดอร์ OrderPlus ระบบจัดการร้านค้าออนไลน์ เพื่อเสริมสร้างการขาย
ค่าขนส่งที่ถูกลง และเพิ่มผลกำไรที่มากขึ้น
  • 181/261 moo 3, Changpuek,
    Mueng, Chiang Mai, Thailand 50300
  • [email protected]
  • 02-114-7287
line-icon