ภาษีนิติบุคคล คนเริ่มต้นเปิดกิจการใหม่ ควรรู้

[OrderPlus]-ภาษีนิติบุคคล-คนเริ่มต้นเปิดกิจการใหม่-ควรรู้.png

 

 


สำหรับการก่อตั้งธุรกิจในรูปแบบบริษัทจำกัด ห้างหุ้นส่วนจำกัด หรือธุรกิจประเภทที่อยู่ในรูปแบบของ “นิติบุคคล” นอกจากการวางแผนด้านการบริหาร การตลาด หรือเรื่องบัญชีแล้ว อีกสิ่งที่ต้องทำความเข้าใจนั่นคือ “ภาษีนิติบุคคล” เพราะนี่คืออีกประเภทของการเสียภาษีที่บรรดานิติบุคคลเมื่อเข้าข่ายจัดตั้งตามกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มีรายได้ มีกำไรสุทธิต้องดำเนินการอย่างถูกต้อง ดังนั้นนักธุรกิจมือใหม่ทุกคนควรที่จะศึกษาเรื่องนี้ให้เข้าใจมากที่สุด ซึ่งจะได้ไม่มีปัญหาตามมาในภายหลัง ถึงจฟังดูน่ากลัว แต่จริงๆ แล้วต้องการจะเกริ่นให้เพื่อนๆฟังก่อน เพื่อปรับทัศนคติบางอย่างก่อน
 

 

"การจ่ายภาษี เป็นหน้าที่ตามกฎหมาย"

 

เจ้าของธุรกิจส่วนใหญ่มักจะหาคำตอบว่า เราจ่ายภาษีไปทำไม แต่ความหมายของภาษีคือ สิ่งที่รัฐเรียกเก็บจากประชาชนโดยที่ไม่มีผลตอบแทน ดังนั้นไม่ต้องหาคำตอบ เพราะสิ่งที่เราจ่ายไปนั้นไม่มีผลตอบแทนอยู่แล้ว แต่ถ้าเราไม่จ่ายภาษีถือว่าผิดกฎหมาย เพราะกฎหมายกำหนดให้ธุรกิจมีหน้าที่ต้องคำนวณและจ่ายภาษี!

 

"จ้างคนอื่นมาทำก็ได้"

 

ตรงนี้เป็นความเข้าใจที่ถูกต้องแล้ว! แต่ประเด็นหนึ่งที่สำคัญกว่านั้นคือ เจ้าของธุรกิจเองต้องเรียนรู้เรื่องภาษีในส่วนที่จำเป็นต่อธุรกิจ เพราะมันถือเป็นส่วนหนึ่งของความรับผิดชอบของเรา ลองคิดเล่นๆดูว่า ถ้าวันดีคืนดีสรรพากรมาเยี่ยมเยียนธุรกิจเรา คุณจะตอบเขาว่ายังไง ไม่รู้ไม่ชี้เดี๋ยวเรียกบัญชีมาคุยให้?

 

 

"ภาษีทางตรง"

ภาษีทางตรงคือ ภาษีที่มีการเรียกเก็บเงินจากเราโดยตรงและไม่สามารถผลักภาระให้กับคนอื่นได้ เช่น

 

1. ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา

จะมีการจัดเก็บในอัตราก้าวหน้า (ตั้งแต่ 5-35%) เก็บเป็นรอบปีตามปฎิทิน ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม จนถึงวันที่ 31 ธันวาคมของทุกๆ ปี อ่านเพิ่มเติมได้ที่

 

2. ภาษีเงินได้นิติบุคคล

จะมีการจัดเก็บในอัตราคงที่ (ปัจจุบันอยู่ที่ 20%) และมีการลดหย่อนอัตราภาษีให้กับธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมบางประเภท โดยจะเสียตามรอบระยะเวลาบัญชีของธุรกิจคือ 1 ปี (ปกติคือรอบ 1 มกราคม ถึง 31 ธันวาคมนี่แหละครับ) ซึ่งภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาและภาษีเงินได้นิติบุคคลนั้นจะแตกต่างกันตามรูปแบบของธุรกิจที่เราเลือก โดยบทความต่อไป รู้จักกับ ประเภทของธุรกิจ จะพูดถึงเรื่องนี้ให้ฟังอีกทีหนึ่ง

 

 

 

"ภาษีทางอ้อม"

ภาษีทางอ้อมคือ ภาษีที่เราสามารถผลักภาระภาษีให้กับผู้บริโภคได้ เช่น ภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีธุรกิจเฉพาะ และอากรแสตมป์ ซึ่งมีหลักการจัดเก็บที่แตกต่างกันไปตามแต่ละประเภทภาษีดังนี้

 

1. ภาษีธุรกิจเฉพาะ

เป็นภาษีตามประมวลรัษฎากรอีกประเภทหนึ่ง ที่จัดเก็บจากการประกอบกิจการเฉพาะอย่างแทนภาษีการค้าที่ถูกยกเลิก เช่น กิจการธนาคารพาณิชย์ โรงรับจำนำ หรือการขายอสังหาริมทรัพย์ และยื่นแบบแสดงรายการภาษีที่มีชื่อว่า ภ.ธ. 40 และในกรณีทั่วไปของธุรกิจ เมื่อมีการขายอสังหาริมทรัพย์หรือการให้กู้ยืมเงินจะเสียภาษีที่อัตรา 3.3% (รวมอัตราภาษีท้องถิ่น)

 

2. อากรแสตมป์

เป็นภาษีตามประมวลรัษฎากรอีกประเภทหนึ่ง แต่จะเรียกเก็บเมื่อมีการทำตราสารระหว่างกัน 28 ลักษณะ ตามที่กำหนดไว้ในบัญชีอัตราอากรแสตมป์ โดยจะใช้การขีดฆ่าแสดงถึงการใช้แสตมป์ดังกล่าว ซึ่งผู้ที่จะขีดฆ่าได้ต้องเป็นไปตามกำหนดของประมวลรัษฎากร โดยคำว่า “ตราสาร” ตามประมวลรัษฎากรหมายถึง เอกสารที่ต้องเสียอากรแสตมป์ ตามที่กำหนดไว้ในบัญชีอัตราอากรแสตมป์ หรือจะพูดง่ายๆก็คือ “สัญญา” นั่นแหละ เช่น ตราสาร (สัญญา) เช่าที่กับโรงเรือน เช่าซื้อทรัพย์สิน จ้างทำของ กู้ยืมเงิน ฯลฯ โดยเรื่องของภาษีทางอ้อมที่ว่านี้ ไม่ได้เกี่ยวข้องกับรูปแบบของธุรกิจครับ แต่จะเกี่ยวข้องกับประเภทของการทำธุรกิจของเรามากกว่าว่าเข้าข่ายต้องเสียภาษีทางอ้อมตัวไหนบ้าง

 

 

"การคำนวณเงินชำระภาษีนิติบุคคล"

สำหรับธุรกิจที่ต้องเสียภาษีนิติบุคคลจะมาจากการคำนวณเงินได้หับลบกับค่าใช้จ่ายตามจริงในการทำธุรกิจ (มีหลักฐานชัดเจน) จนเหลือเป็นกำไรสุทธิทางภาษีในแต่ละปีที่ดำเนินธุรกิจ ซึ่งรอบระยะเวลาปกติคือ 1 มกราคม – 31 ธันวาคม นำมา x กับอัตราภาษีที่เป็นไปตามกฎหมายได้กำหนดเอาไว้ จากนั้นจึงนำส่งข้อมูลดังกล่าวให้กับกรมสรรพากรภายใน 150 วัน เมื่อครบรอบของการปิดบัญชี (ปกติจึงไม่เกินวันที่ 30 พฤษภาคม ของปีถัดไป) โดยใช้แบบแสดงรายการภาษีเงินได้นิติบุคคล หรือที่เรียกกันว่า ภ.ง.ด.50 นั่นเอง

 

"การยื่นภาษีนิติบุคคล"

หลายคนอาจยังมีข้อสงสัยว่าปกติแล้วการยื่นภาษีนิติบุคคลจะต้องดำเนินการปีละกี่ครั้งกันแน่ คำตอบคือ ไม่ใช่แค่การยื่น ภ.ง.ด.50 สำหรับภาษีสิ้นปีเท่านั้น แต่จะต้องมีเรื่องของการยื่น ภ.ง.ด.51 หรือการยื่นภาษีกลางปีเข้ามาเกี่ยวข้องด้วย ซึ่งการยื่นภาษีประเภทนี้จะใช้วิธีแบบเดียวกับการคำนวณรายได้ของการยื่นปลายปี แต่เป็นการคำนวณเพียงครึ่งปีคือระหว่างวันที่ 1 มกราคม – 30 มิถุนายน ของแต่ละปีเท่านั้น ซึ่งทางบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนจำกัดมีหน้าที่ต้องยื่นส่งให้กับกรมสรรพากรภายใน 2 เดือน ทั้งนี้ยังมีเงื่อนไขที่คนทำธุรกิจสามารถเลือกได้ในการยื่นภาษีครึ่งปี คือ

การยื่นแบบภาษีนิติบุคคลครึ่งปีจากกำไรสุทธิเกิดขึ้นจริงในรอบ 6 เดือน

  • เสียภาษีจากการมีกำไรสุทธิจริงในรอบ 6 เดือนแรก วิธีนี้จะไม่ต้องจ่ายภาษีเพิ่มกรณีประมาณการแล้วขาดเกินกว่า 25%
  • ผู้ยื่นภาษีมีหน้าที่ในการจัดทำงบการเงินเพื่อแสดงรายได้สุทธิในเวลา 6 เดือนแรกของปี มีการลงลายมือของผู้สอบบัญชีก่อนยื่นให้กับกรมสรรพากร

การยื่นแบบภาษีนิติบุคคลครึ่งปีจากประมาณการกำไรสุทธิตลอดปี

  • ผู้ประกอบการจะต้องประมาณการกำไรสุทธิทั้งหมดในรอบปีนั้น ๆ จึงไม่ต้องทำงบการเงินเพื่อยื่นต่อกรมสรรพากร
  • อย่างไรก็ตามหากสรุปตัวเลขออกมาแล้วปรากฏกำไรสุทธิที่เกิดขึ้นสูงเกินกว่าประมาณการ 25% ต้องมีการจ่ายภาษีเพิ่มเติม 20% จากการประมาณการที่ผิดพลาดไปเกิน 25% ตามมาตรา 67 ตรี

 

"สถานที่ยื่นภาษีนิติบุคคล"

หากเป็นในเขตพื้นที่กรุงเทพฯ สามารถยื่นได้กับสำนักงานสรรพากรพื้นที่สาขาตามท้องที่ที่สำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ ส่วนต่างจังหวัดให้ยื่นกับที่ว่าการอำเภอหรือที่ว่าการกิ่งอำเภอตามท้องที่ที่สำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ หรือยื่นกับสำนักงานสรรพากรอำเภอกรณีไม่ได้ตั้งอยู่กับที่ว่าการอำเภอ

อย่างไรก็ตามในปัจจุบันเพื่อความสะดวกของการยื่นแบบแสดงรายการภาษีนิติบุคคลสามารถดำเนินการยื่นผ่านออนไลน์กับเว็บกรมสรรพากรได้ทั้ง ภ.ง.ด.50 และ ภ.ง.ด.51

นี่คือข้อมูลเกี่ยวกับภาษีนิติบุคคลเบื้องต้นที่บรรดาคนทำธุรกิจควรต้องศึกษาเอาไว้ด้วย ช่วยให้เกิดความเข้าใจและทำได้อย่างถูกต้องตามกฎหมายมากขึ้น นอกจากช่วยให้ธุรกิจของคุณดำเนินไปอย่างมีเสถียรภาพ ก็ไม่ต้องกังวลในด้านการโดนจัดเก็บภาษีย้อนหลังซึ่งจะมีเงื่อนไขค่าปรับต่าง ๆ เข้ามาเกี่ยวข้อง กลายเป็นการเพิ่มต้นทุนในการทำธุรกิจมากขึ้นไปอีก


แนะนำ 4 ปัจจัยที่จะกำหนดว่าคุณจะขายสินค้าได้หรือไม่!

ณ ปัจจุบันการขายของออนไลน์นั้น ถือว่าได้รับความนิยมอย่างมาก ลองสังเกตจากการเกิดร้านค้าออนไลน์ใหม่ ๆ ขึ้นมากมาย อย่างไรก็ดี เชื่อว่าทุกท่านอาจมีความกังวล กลัวว่าลงทุนไปแล้วจะไม่สำเร็จลุล่วงอย่างที่หวังไว้ ดังนั้น สิ่งสำคัญที่อยากให้ทุกๆท่านจำไว้ก่อนจะเลือกของมาขายก็คือ “ต้องมีความรู้ ความเข้าใจในการตลาดบนโลกออนไลน์และต้องใช้เครื่องมือต่าง ๆ ให้เป็น”
16/ม.ค./2023 16:46 น.

6 เทคนิคการปิดการขาย สำหรับคนขายของออนไลน์เพื่อเพิ่มยอดขายให้มากขึ้น

การปิดการขายสำคัญมากสำหรับคนขายของออนไลน์ นอกจากจะขายสินค้าได้มากขึ้นแล้ว อาจจะมัดใจลูกค้าให้ซื้อซ้ำได้อีกด้วย โดยระบบหลังบ้าน Order Plus
31/ม.ค./2023 09:52 น.

10 เทรนด์ การยิงแอด Facebook ในปี 2023 โดย ระบบหลังบ้าน Order Plus

การคาดการณ์การยิงแอด Facebook ในปี 2023 เพื่อเป็นแนวทางในการวิเคราะห์แนวโน้มในการขายสินค้าและทำการตลาดผ่านทาง Facebook ต่อไป
07/ก.พ./2023 10:20 น.
ระบบจัดการออเดอร์ OrderPlus ระบบจัดการร้านค้าออนไลน์ เพื่อเสริมสร้างการขาย
ค่าขนส่งที่ถูกลง และเพิ่มผลกำไรที่มากขึ้น
  • 181/261 moo 3, Changpuek,
    Mueng, Chiang Mai, Thailand 50300
  • [email protected]
  • 02-114-7287
line-icon