ปัจจุบันมีการนำเทคโนโลยีดิจิตอลเข้ามาใช้งาน ทำให้อาชีพของใครหลายคนมีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้น บางอาชีพอาจถูกแทนที่ด้วยเทคโนโลยี หรือบางอาชีพอาจกลายเป็นที่นิยมมากขึ้น และหนึ่งในอาชีพที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างมากก็คือการขายของออนไลน์ หากร้านค้าขายดีมีเงินหมุนเวียนในระบบเป็นจำนวนมหาศาล ทำให้ทางภาครัฐต้องเข้ามาควบคุมดูแล ทำให้เกิดสิ่งที่เรียกว่าภาษีขายของออนไลน์เกิดขึ้น
การจ่ายภาษีคือหน้าที่ของประชาชนทุกคนทุกประเทศ ทว่าในปัจจุบันหลายคนยังเข้าใจว่าหากทำการขายของผ่านช่องทางออนไลน์นั้นไม่จำเป็นต้องเสียภาษี ซึ่งคงต้องอธิบายให้ชัดเจนว่าอย่างไรก็ต้องเสียภาษีในรูปแบบของภาษีเงินได้
ภาษีของการขายของออนไลน์นับเป็นภาษีเงินได้จากการค้าขาย ซึ่งจะมีการแบ่งการคำนวณเป็นสองประเภท คือ
- ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา : กรณีเป็นพ่อค้าแม่ค้าธรรมดา
- ภาษีเงินได้นิติบุคคล : กรณีที่ร้านค้านั้น ๆ มีการจดทะเบียนเป็นบริษัท
การคำนวณอัตราภาษีนั้นไม่ได้แตกต่างกับการจ่ายภาษีตามปกติ คือคิดตามอัตราขั้นบันไดตามกฏหมายกำหนด และมีค่าใช้จ่ายที่สามารถนำมาหักภาษีได้ดังนี้
- หักค่าใช้จ่ายตามอัตรา 60% ของเงินได้ สำหรับร้านที่ดำเนินการแบบซื้อมา ขายไป ไม่มีการผลิตภายในร้าน
- หักตามค่าใช้จ่ายจริง สำหรับบ้านที่มีการผลิตภายในร้าน
- หักแบบเหมา กรณีที่มีรายได้จากช่องทางออนไลน์เกิน 1,000,000 บาท โดยคิดภาษีเป็น 0.5% ของเงินได้
ซึ่งคนทั่วไปก็สามารถคิดภาษีได้ด้วยตัวเอง หรือใช้โปรแกรมในการคำนวณด้วยสูตร (รายได้ - ค่าใช้จ่าย - ค่าลดหย่อน) และแน่นอนว่าหากรายได้ไม่ถึงเกณฑ์ก็มีโอกาสที่จะไม่ต้องเสียภาษีเช่นกัน
ทางกรมสรรพากรจะรู้ได้อย่างไรว่ามีการขายของออนไลน์เกิดขึ้น ในปัจจุบันมีกฎหมายออกมารองรับทำให้ทางสถาบันการเงินต้องมีการส่งข้อมูลการทำธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์ หรือที่เรียกกันว่า (e-Payment) ให้กับทางกรมสรรพากรตรวจสอบ แต่ไม่ได้ตรวจสอบทุกบัญชี ลองมาดูเงื่อนไขกันว่ากรมสรรพากรจะตรวจสอบอย่างไร
"เมื่อมีการฝากหรือรับโอนเงินทุกบัญชี 3,000 ครั้งต่อปีขึ้นไป ไม่ว่าจะมียอดรวมทั้งหมดกี่บาทก็ตาม"
“ฝากหรือรับโอนเงินทุกบัญชีรวมกัน 400 ครั้งขึ้นไป และมียอดเงินรวมกันเกิน 2 ล้านบาท”
ข้อมูลจาก : พระราชบัญญัติ แก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ ๔๘)
ในส่วนนี้ขอขยายความว่า กรณีซื้อของออนไลน์หรือการโอนออกเพื่อใช้จ่ายจะไม่เกี่ยวข้องกับกรณีนี้ ปัจจัยสำคัญที่ทางกรมสรรพากรต้องการคือ การรับโอน ดังนั้นสำหรับคนที่จำเป็นต้องโอนเงินเพื่อใช้จ่ายจึงไม่ต้องกังวลกับการเสียภาษีตรงนี้
- เลขประจำตัวประชาชน
- ชื่อ สกุล
- เลขบัญชีเงินฝาก
- จำนวนครั้งของการฝากหรือโอน
- ยอดรวมจากการฝากหรือโอน
ซึ่งกรมสรรพากรจะไม่เพียงตรวจสอบผู้ที่เป็นร้านค้าเท่านั้น แต่รวมไปถึงผู้ที่มีการโอนเงินมากผิดปกติจนน่าสงสัยอีกด้วย
แต่ไม่ต้องกังวลไป แม้ว่าคุณเพิ่งทำธุรกิจขายของออนไลน์หรือทำมานานแล้วก็สามารถเตรียมตัวได้ไม่ยาก
สำหรับการเตรียมตัวไม่ใช่เรื่องยากแต่อย่างใด โดยปกติแล้วการค้าขายออนไลน์จะต้องมีการบันทึกข้อมูลลูกค้า การใช้จ่าย ลงทุน รวมถึงการรับเงินอยู่แล้ว สิ่งที่พ่อค้าแม่ค้าทุกคนต้องทำเพิ่มขึ้นมาก็คือ
บันทึกทุกอย่าง ทำบัญชีรายรับรายจ่ายเพื่อสามารถตรวจสอบได้ว่าเรามีรายรับรายจ่ายประเภทใด อย่างไรบ้าง
ไม่ทิ้งหลักฐานที่เกี่ยวกับการค้าให้หายไป เมื่อทางกรมสรรพากรมีคำถามเกี่ยวกับรายรับรายจ่าย นอกจากจะได้เห็นบันทึกรายรับรายจ่าย ยังมีหลักฐานทางธุรกรรมเพื่อยืนยันว่าเราได้ดำเนินการโอนรับ จ่าย หรือลงทุนตามจริงด้วย
ติดตามข่าวการเงิน โดยเฉพาะด้านภาษีที่มีการอัปเดตในแต่ละปีตามการไหลเวียนของเงินในประเทศและต่างประเทศ แต่หากไม่มีความรู้ด้านการเงินอาจทำให้พลาดเสียเงินมากเกินความจำเป็นหรือจ่ายภาษีซ้ำซ้อนได้
หาความรู้เกี่ยวกับภาษีเงินได้ รวมถึงเรื่องที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม เพื่อที่จะสามารถจัดการรายรับรายจ่ายในแต่ละปี รู้ว่าต้องเสียภาษีเท่าไหร่ ลดหย่อนภาษีได้ด้วยวิธีใดบ้าง
นอกจากการตรวจสอบสิ่งต่าง ๆ ในโลกออนไลน์แล้ว ทางกรมสรรพากรเองก็ยังดำเนินการอำนวยความสะดวกให้เหล่าผู้เสียภาษีเงินได้ โดยสามารถเข้าไปยื่นแบบภาษีตามกำหนดการรายปีได้ที่ ยื่นแบบ-ชำระภาษีออนไลน์ ซึ่งภายในจะมีรายละเอียดต่าง ๆ ระบุไว้อย่างครบถ้วน พร้อมให้ประชาชนยื่นแบบภาษีเงินได้ในเวลาไม่กี่นาที ผ่านทางอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์
ซึ่งปัจจุบันพ่อค้าแม่ค้าออนไลน์หลายคนก็ยังพยายามขายสินค้า รวมถึงขยายกิจการของตัวเองอย่างต่อเนื่อง อาจจะมีคนที่รายได้มากพอที่จะเสียภาษีบ้าง ยังไม่ถึงบ้าง แต่อย่างไรทุกสิ่งก็ต้องก้าวไปข้างหน้า
ขอบคุณข้อมูลดีจาก
Cr: เงินติดล้อ